สะแกกรัง มนต์ขลัง แห่งสายใย หล่อเลี้ยงใจอุทัยธานี

สะแกกรัง มนต์ขลัง แห่งสายใย หล่อเลี้ยงใจอุทัยธานี

แม่น้ำสะแกกรัง

เป็นแม่น้ำเส้นชีวิตสายสำคัญสายเดียวของจังหวัดอุทัยธานีมีต้นน้ำมาจากภูเขาโกจู ซึ่งสูง 1,964เมตรจากระดับน้ำทะเลมีความยาวจากต้นน้ำจนถึงสุดปลายน้ำ 180กิโลเมตร มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องที่ที่ไหลผ่านเฉพาะส่วนที่เรียกว่าแม่น้ำสะแกกรังนั้นมีความยาว 11 กิโลเมตร ตั้งแต่ปากคลองวัดขุมทรัพย์ผ่านตัวเมืองอุทัยธานี ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่คุ้งสำเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

สะแกกรังในสมัยกรุงศรีอยุธยา

บ้านสะแกกรังเป็นหมู่บ้านใหญ่ ซึ่งเป็นย่านตลาด การค้าขาย ทางน้ำ ที่สำคัญ และนอกจากนี้ยังใช้เป็นที่สำหรับขนถ่ายช้างศึกม้าศึก เพื่อใช้ในราชการสงครามส่วนแหล่งที่ใช้รวมหมอนไม้ซุงส่งขายยังกรุงศรีอยุธยากรุงเก่าอยู่ที่บ้านท่าซุง ดังนั้นกิจการสงครามที่เกี่ยวพันกับกองทัพตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงเกี่ยวพันกับแม่น้ำสะแกกรังมาโดยตลอดนอกจากนี้ยังเป็นแม่น้ำที่ใช้ติดต่อคมนาคมและราชการกองทัพ

สะแกกรังในสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕ กับเมืองอุทัยธานี)

วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๔๔( รศ ๑๒๐ ) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทางแม่น้ำสะแกกรังเข้าตัวเมืองจังหวัดอุทัยธานีเมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือเพื่อเยี่ยมเยือนพสกนิกรของพระองค์พระราชทานพระแสง(คือพระแสงราชศัตราวุธ) ประจำเมืองพระราชทานเป็นอันดับที่ ๓ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเสมาแก่ข้าราชการเมืองอุไทยธานี

วันที่ ๑๐สิงหาคม ๒๔๔๙พระองค์ได้เสด็จประพาสต้น

“วันที่ ๑๐สิงหาคม ๒๔๔๙ (ร.ศ. ๑๒๕)๕ โมงเช้าลงเรือเข้าคลองสะแกกรังชั่งโมงเศษถึง เขายืมแพวัดไปจอดที่เคยจอดแต่ก่อน ทำกับข้าวกิน บ่าย ๒ โมงเศษลงเรือขึ้นไปเหนือน้ำ หยุดถ่ายรูปแล้วขึ้นตลาด กลับลงเรือแวะที่หน้าวัดโบสถ์พบพระครูจัน แล้วกลับมามโนรมย์ แม่น้ำสะแกกรังยังเป็นสายน้ำที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จตรวจการณคณะสงฆ์โดยเรือพระที่นั่งตามลำน้ำสะแกกรัง 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖ กับเมืองอุทัยธานี )

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี – ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองตามชายน้ำผ่านแม่น้ำสายนี้

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับแรมอยู่พลับพลาริมแม่น้ำสะแกกรัง 

นอกจากนี้แม่น้ำสะแกกรังยังเป็นสายน้ำที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จตรวจการณคณะสงฆ์โดยเรือพระที่นั่งตามลำน้ำสะแกกรังและแม่น้ำสะแกกรังยังเป็นสายน้ำที่เชิญพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระโพธิมงคล และพระพุทธรูปวัด

หนองแก มาจากสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ 1 ขึ้นที่ท่าที่ ท่าพระ ใกล้ศาลากลาง พระพุทธรูปทั้งสามองค์เป็นพระสำคัญประจำเมืองที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวอุทัยธานีมาจนปัจจุบัน

ในปี ๒๕๓๐ สายน้ำสะแกกรังแห่งนี้ ใช้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากลุ่มน้ำสะแกกรังเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐

สะแกกรัง มีความสัมพันธ์กับจังหวัดอุทัยธานี คือ เป็นที่ตั้งของบ้านสะแกกรังเป็นชื่อของแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชาวอุทัยธานี และเป็นชื่อภูเขาที่สำคัญของเมืองอุทัยธานี

ความหมายของสะแกกรังเป็นชื่อของต้นไม้ชื่อต้นสะแก สายพันธุ์หนึ่งอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ว่าสะแกวัลย์ สะแกเครือ หรือสะแกเถา สันนิษฐานว่ามาจากภาษาไทยเหนือซึ่งเป็นคำประสม สะแก + กรัง (สะแก หมายถึง ต้นสะแกคำว่ากรัง หมายถึง ติดแน่น ผูกพัน) ต้นสะแกกรังจึงหมายถึงต้นสะแกที่เลื้อยเกาะพันไม้ใหญ่ คล้ายเถาวัลย์แต่เป็นไม้พุ่มที่ทอดกิ่งโอบพันต้นไม้พันอยู่ข้างเคียงมีดอกเป็นช่อระย้าเป็นพวงสีงาช้างในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกณฑ์ครอบครัวหัวเมืองฝ่ายเหนือจากจังหวัดเชียงราย ลงมารักษาเมืองหน้าด่านที่อุทัยธานี ทำให้ชื่อหมู่บ้าน แม่น้ำ ภูเขา จึงใช้ชื่อต้นไม้ ต้นไม้ชนิดนี้ออกเสียงภาษาไทยเหนือว่า สะแกกรัง (เช่นเดียวกับหนองผีเผาซึ่งภาษาไทยเหนือคำว่าผีเผาหมายถึงต้นมะเกลือ เพราะมีต้นสีดำเหมือนกับผีเผาโดยไม่ต้องมีคนมาเผา)ต้นสะแกกรังในปัจจุบันหาชมได้ไม่ยากในพื้นที่ 

ปัจจุบันลำน้ำสะแกกรังเปลี่ยนไปจากเดิมมาก เนื่องจากมลภาวะเป็นพิษ และการทิ้งสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย ลงในแม่น้ำสะแกกรัง ลำน้ำสะแกกรัง ซึ่งเป็นสายน้ำนิ่งกำลังจะเข้าสู่สภาวะวิกฤตในไม่ช้า ถ้าหากไม่มีการแก้ไขโดยด่วน

แม่น้ำสะแกกรังในอดีต

Skip to content
ข้ามไปยังทูลบาร์