หมอนอิง บ้านไร่

“ผ้าทอ” เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมและอารยธรรมของกลุ่มชนในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ผ้าทอพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น แต่ละภาค จะมีรูปแบบของสีสัน ลวดลาย และกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกันไป แม้ว่าจะผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบประเภทเดียวกัน คือฝ้ายหรือไหม แต่ละที่ก็จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อทางวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ผสมผสานกับค่านิยมในสังคมที่สืบทอดกันมาจากชุมชนต้นกำเนิด

หญิงไทยในสมัยโบราณ ได้รับการฝึกให้ทอผ้าตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้าบูชาพระ ของกำนัล ตลอดจนถึงเครื่องแต่งกายพิธีแต่งงานของตนเอง การทอผ้า เป็นวิถีชีวิตของคนอุทัยธานีที่มีมาช้านานแล้ว มีทั้งผ้าฝ้าย ไหม และฝ้ายแกมไหม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ลวดลายโบราณที่มีการอนุรักษ์ไว้ อายุไม่ต่ำกว่า 100-200 ปี

ลายผ้าสามารถอธิบายวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญา ของชุมชนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน อุทัยธานีมีกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองทั้งหมด 35 กลุ่ม ลวดลายโบราณ ที่มีมากกว่า 60 ลาย ได้รับการอนุรักษ์ และถ่ายทอดภูมิปัญญามาจนถึงปัจจุบันผ้าทอลายโบราณของ จ.อุทัยธานี สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นลาวครั่ง อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง และลาวเวียง ที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีลายพญานาค ลายขอ ลายรูปสัตว์ต่างๆ ฯลฯ ส่วนใหญ่นิยมทอผ้าฝ้ายไหมย้อมสีธรรมชาติ

ปัจจุบันมีชุมชนทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ 35 กลุ่ม อาทิ ชุมชนทอผ้าบ้านตาโพ ชุมชนทอผ้าผาทั่ง ชุมชนทอผ้าบ้านโคกหม้อ ฯลฯ ผ้าทอบ้านนาตาโพ มีลวดลายและสีสันสวยงาม เส้นฝ้ายย้อมด้วยสีธรรมชาติ เช่น ใช้ครั่งในการให้สีสันสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมมาแต่โบราณ และยังสีสันจากวัตถุดิบอื่นๆ ในท้องถิ่น เช่น ดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ สร้างลวดลายตามจินตนาการ จากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ รูปสัตว์ ดวงดาว เป็นต้นผ้าซิ่นของที่นี่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนตีน (เชิงผ้าซิ่น) เอกลักษณ์ของชาวบ้านนาตาโพคือส่วนตีนผ้าซิ่นจะต้องเป็นสีแดง ส่วนตัว และหัวจะเป็นสีอะไรก็ได้ ผ้าทอบ้านผาทั่งเป็นผ้าทอที่ยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่แห่งต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน ทั้งความละเอียดอ่อนของลายผ้า สีสันซึ่งย้อมด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ 200-300 ปี

ผ้าทอโบราณจังหวัดอุทัยธานี

“ผ้าทอ”งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ของกลุ่มชนในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา สะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมและอารยธรรม

หญิงไทย (เชื้อสายลาวครั่ง ลาวเวียง) ในสมัยโบราณ ได้รับการฝึกให้ทอผ้าตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อนำไปใช้เป็นนุ่งหุ่ม ผ้าบูชาพระ ของกำนัล ตลอดจนถึงเครื่องแต่งกายพิธี แต่งงานของตนเอง การทอผ้า จึงเป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด จวบจนถึงปัจจุบัน

กลุ่มผ้าทอ อำเภอบ้านไร่ ถือเป็นแหล่งราชินีผ้าฝ้าย ผ้าของที่นี่ถักทอด้วยมือ เอกลักษณ์ของลายผ้าเป็นผ้าทอลายไบราณ มีความงดงามไม่มีที่ใดเหมือนจนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับประเทศปี 2546 และชุดเครื่องนอนก่อนวิวาห์ก็เคยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับยูเนสโก เมื่อปี 2547

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอ ผ้าพื้นเมือง อำเภอบ้านไร่ หลากหลายชนิด เช่น ปลอกหมอน หมอนอิง เสื้อผ้า โถดินเผาหุ้มผ้าทอ เนคไท กระเป๋า ย่าม สมุดโน้ต

Skip to content
ข้ามไปยังทูลบาร์