หม้อยุคหินใหม่ บ้านเชียงอุดรธานี

ลวดลายของ เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่มาอายุกว่า 3500 ปี ที่สำคัญของประเทศไทย เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ แหล่ง โบราณคดีบ้านเชียง ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีรวมถึง เครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียง ก่อนประวัติศาสตร์ และเมื่อปี 2510

กรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของวัฒนธรรมบ้านเชียง ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ซึ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตรการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วยความสนพระราชหฤทัย

 

ลักษณะ เครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียง ที่ค้นพบแบ่งออกเป็น 3 ยุค

  • ในลักษณะตอนต้น – ภาชนะดินเผาสีดำถึงเทาเข้มแบบมีเชิงหรือฐานเตี้ยๆตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นโค้งและลายกดหรือลายขูด อยู่ระหว่างช่วงล่างของภาชนะดินเผา มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ มีภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพเด็กก่อนนำไปฝังภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง ลายก้านขด ซึ่งมีการการตกแต่งลวดลายหนาแน่นกว่าในสมัยเริ่มแรก
  • ในลักษณะตอนกลาง – การตกแต่งลวดลายจะเป็นลักษณะใช้เชือกทาบเพื่อให้เป็นลวดลาย รวมทั้งมีการใช้วัสดุกดทับให้เกิดลวดลายและการนำดินมาตกแต่งให้เกิดลายนูน มีสีด้านนอกสีขาวที่บริเวณไหล่ทำเป็นสันหักมุมค่อนข้างชัดเจนมีทั้งแบบประเภทก้นกลมและก้นแหลม บางรายการมีการตกแต่งด้วยลายขีดและเขียนสีที่บริเวณใกล้ปากภาชนะ
  • ในลักษณะตอนช่วงปลายสมัยกลาง – เริ่มมีการตกแต่งภาชนะด้วยการทาตกแต่งสีแดงซึ่งจะเรียกภาชนะดินเผานี้ว่าภาชนะแบบบ้านอ้อมแก้ว ภาชนะดินเผาในสมัยกลางเป็นผู้ชายที่ทำขึ้นด้วยความประณีตมากกว่าทุกสมัย มักตกแต่งผิวด้านนอก โดยทำเป็นลวดลายเชือกทาบเป็นเส้นเล็กๆ อย่างมีระเบียบแสดงให้เห็นถึงความสงบสุขในช่วงเวลานั้น  เป็นภาชนะดินเผาที่โดดเด่นมีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีนวลเริ่มปรากฏบนภาชนะดินเผา มีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง

เครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียง

ในลักษณะตอนช่วงปลายสมัย

เริ่มมีภาชนะดินเผาที่ผิวด้านนอกเคลือบด้วยน้ำโคลนสีแดงและขัดมัน สีที่ใช้เขียนลวดลายบนภาชนะดินเผา สันนิษฐานว่าเป็นดินนำมาผสมกับยางไม้และไขสัตว์ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ และลวดลายที่ปรากฏเป็นรูปลายที่เป็นรูปธรรมเช่น รูปคน สัตว์และลวดลายที่เป็นนามธรรมเช่นและก้นหอย ลายเรขาคณิต

โดยช่างจะเขียนลวดลายบนภาชนะดินเผาไม่มีการร่างแบบไว้ก่อน สังเกตเห็นจากข้อผิดพลาดของลวดลายที่อยู่บนพื้นผิวภาชนะ รอยลวดลายที่ถูกเขียนบนภาชนะเป็นลวดลายที่ไม่ซ้ำแบบกัน

ดังนั้นภาชนะดินเผาในสมัยปลาย จึงนับเป็นโบราณวัตถุอีกประเภทหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ทำให้คนรู้จักกันทั่วโลก

 

ได้เอกลักษณ์มาจากลาว

ปัจจุบันผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอเนินดิน บ้านเชียง เป็นชาวไทยพวน ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาว โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มา 300 ปีมาแล้ว

http://www.gossmanpottery.com/ban-chiang-pottery/
Skip to content
ข้ามไปยังทูลบาร์