เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงเปลี่ยนธงชาติไทย

เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงเปลี่ยนธงชาติไทย

โดย จมื่นอมรดรุณารักษ์ ( แจ่ม สุนทรเวช )

ธงชาติ คือเครื่องหมายซึ่งแสดงให้รู้ถึงความเป็นเชื้อชาติของชนชาติใดชาติหนึ่ง ซึ่งรวมกันขึ้นเป็นกลุ่มก้อนเป็นหมู่เป็นคณะ ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความมีอิสรภาพ เกียรติ อำนาจและการคุ้มครองอาณาบริเวณของแต่ละชาติ

ลักษณะ ส่วนมากทั่วไปมักใช้ทำด้วยผืนผ้าในรูปลักษณะสี่เหลี่ยม มีความยาวมากกว่าความกว้างบ้าง ก็ปลายแหลมปลายหักสุดแต่จะพอใจ จัดขึ้นในสีต่างๆ ตามความมุ่งหมายของแต่ละชาติ ทั้งนี้บางโอกาสอาจใช้กระดาษหรืออะไรอื่นแทนในคราวจำเป็นเช่นใบเรือ บนหลังคา หรือที่ปีกเครื่องบิน ฯลฯ ก็ได้เป็นแต่จัดประดับ สีให้ถูกต้องในลักษณะสีธงที่ต้องการก็เป็นอันอนุโลมเข้าในลักษณะธงชาติได้

ความหมาย เป็นเครื่องสำแดงเกียรติแห่งความมีอิสรภาพ ความเจริญด้วยวัฒนธรรมเป็นสัญญาณ ซึ่งสำแดงความทะนงและภาคภูมิในเกียรติศักดิ์แห่งประเทศชาติ เป็นเครื่องเหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ บำรุงขวัญแห่งหมู่คณะในยามที่มีการต่อสู้ชิงชัย เช่นในการกรีฑาหรือการประกวดประชันหรือการแข่งขันกีฬาต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในการศึกสงคราม

ประโยชน์และคุณค่า เพื่อยึดเหนี่ยวรวบรวมจิตใจคนในหมู่คณะผู้ร่วมชาติเป็นสัญญาณแห่งความสามัคคี พร้อมเพรียงทั้งกายใจ และวิญญาณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งเป็นเครื่องประดับประดาให้เกิดความสง่างามแก่กองทัพทั้งหลายขบวนแห่หรือสถานที่ต่างๆ ในยามประดับธง เป็นสัญญาณแห่งการสดุดีและเคารพ เป็นอาณัติสำหรับโบกสะบัดแสดงความ ปิติยินดี อวยพรต้อนรับหรืออำลาอาลัยรัก ซึ่งล้วนไปด้วยคุณค่านานาประการ

เมื่อสรุปว่า ธงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในหมู่ มนุษย์ เช่นนี้จึงปรากฏว่าแทบทุกชาติที่เจริญรุ่งเรืองในโลก จะเว้นมีธงประจำชาติหาได้ไม่ ดังจะเห็นได้จากหนังสือประวัติศาสตร์ชาติต่างๆแต่สมัยดึกดำบรรพ์ลงมาตลอดสมัยโบราณจึงถึงยุคปัจจุบันนี้ มนุษย์นิยมการใช้ธงด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวมาแล้วทั้งสิ้นและต่างก็พยายามคิดทำให้สวยงาม ตรงตามประสงค์ของแต่ละชาติ ประเทศที่เคยมีอำนาจยิ่งใหญ่สมัยโบราณ เช่น ประเทศโรมัน ครั้งเมื่อดำรงแสนยานุภาพครอบครองชาติและประเทศอื่นๆไว้เกือบครึ่งโลกก็ใช้สัญลักษณ์ สำแดงมหาอำนาจของกองทัพด้วยธงรูปนกอินทรี
สำแดงมหาอำนาจของกองทัพด้วยธงรูปนกอินทรี กางปีกติดไว้บนใบเรือรบ ประเทศอัสสิเรียนใช้ปัก ลวดลายบนเสื้อจอมทัพหรือสลักหินเป็นรูปสิงห์ ประเทศบาบิโลนสลักรูป อาทิตย์ไว้ตามที่สำคัญแทนธง อียิปต์ใช้ธงใช้แหลมๆ รูปพระอาทิตย์งูและนก ต่อมาในสมัยกลางบรรดาประเทศที่เจริญทั้งหลายในอัสดงคตประเทศ และมัธยมประเทศทุกแคว้นแต่ก็นิยมใช้ธงประจำชาติด้วยกันทั้งสิ้น เป็นของสำคัญและจำเป็น เมื่อไหร่ใช้ธงขยายตัวออก ประเทศเล็กๆน้อยๆที่มีอิสรภาพต่างก็นิยมใช้ขึ้นบ้าง ประเทศไทยเรานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นชาติเล็กๆ แต่เราก็ได้ดำรงความเป็นชาติอิสระมาเกือบตลอดเวลานับแต่สร้างชาติไทยเป็นต้นมา สมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเราก็ได้ใช้ธงชาติอย่างแบบโบราณกันมาก่อน ซึ่งมักมีกล่าวไว้ตามหนังสือวรรณคดีเก่าๆว่า เป็นรูปธงสามชายปลายงอนเป็นกันและมักมีสีต่างๆ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชาติไทยเราได้ใช้ธงสีแดงล้วนเป็นสีประจำชาติ เมื่อถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นอดีตสมัยที่ไม่ห่างไกลกับยุคปัจจุบันนี้นัก วิวัฒนาการเกี่ยวกับธงได้ก้าวเข้าสู่อารยธรรมแผนใหม่คือเปลี่ยนรูปลักษณะเปลี่ยนสีมีการพนันดับกระดาเครื่องหมายประกอบ ให้ดูงามและมีความหมายเกี่ยวกับราชสกุลวงศ์คือมีรูปจักรอยู่ตรงกลางผืนผ้าสีแดงอันเนื่องมาแต่พระบรมนามาภิไธยแห่งพระองค์เป็นเบื้องต้น

ครั้นต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีองค์ที่ 2 ได้พระยาสารเศวตอุดมด้วยคชลักษณะอันประเสริฐมาสู่พระบารมีมีถึง 3 ช้าง นั้นเป็นบุพนิมิตศิริมงคลที่ขาดตอนจากชาติไทยมาช้านานขาดตั้งหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแต่ครั้งอดีตจะทำให้เป็นที่ปลื้มปิติแก่พสกนิกรทั่วไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเผือกลงไว้ในกลางวงจักรบนผืนผ้าสีแดงอีกอย่างหนึ่ง แต่รูปยังคงไว้ตามเดิม

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่3 แห่งราชวงศ์จักรี ปรากฏว่าเรือเดินทะเลไทย ซึ่งใช้โทนสีแดงล้วนกันมาแต่เดิม เธอบอกให้ลืมและเจ้าท่าตามเมืองต่างๆรู้ว่าเป็นเรือสินค้าของไทย เกิดไปคล้ายกับเรือชาติอื่นๆ เช่น ชวา มลายู ซึ่งเดินเรือค้าขายอยู่ในน่านน้ำสิงคโปร์เช่นเดียวกัน ได้มีผู้กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงทรงพระราชดำริที่จะให้เรือของไทยทั้งปวงทั้งเหลือราษฎรและเรือหลวงพี่ไปติดต่อกับต่างชาติควรจะได้ใช้ธงเครื่องหมายแสดงความเป็นเรือของชาติไทยเสียทั้งสิ้นเพื่อแสดงให้นานาชาติได้รู้จักธงชาติไทยในปี พ.ศ 2360 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงมีช้างอยู่ภายในวงจักร ในปี พ. ศ. 2398 ใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกรูปจักร ซึ่งหมายเฉพาะพระบรมราชวงศ์ออกเสีย แล้วใช้รูปช้างเผือกไล่ลงกลางธงพื้นสีแดงซึ่งเป็นสีเดิม เพราะนอกจากจะมีความหมายสำหรับชาติแล้วยังเห็นได้ง่ายในระยะไกลด้วยและประกาศให้ใช้เป็นธงประจำชาติของประเทศไทยมาแต่ครั้งนั้น

ธงชาติก่อนเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 6

ต่อมาในปี พ.ศ 2434 อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติธงสยามขึ้นใช้สำหรับเรือหลวง คือใส่รูปจักรลงไว้ตรงมุมด้านบนของธง ประกอบเข้ากับธงช้างทรงเครื่องขึ้นโครงอยู่ตรงกลางของธง นอกจากนั้นยังทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงบรมธวัชสยามินทร์ ขึ้นเป็นธงประจําพระองค์ โดยเหตุนี้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตที่พักที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดกระบวนแห่พระบรมโกศเป็นขบวนราบเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำธงบรมธวัชสยามินทร์นี้ มาเชิญตามเสด็จต่อท้ายพระบรมโกศ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ได้ใช้ธงผืนนี้เป็นครั้งสุดท้ายด้วย ลักษณะของธงดังกล่าว พื้นพรมเป็นแพรสีแดงตรงกลางเป็นรูปตราแผ่นดินที่ทรงใช้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยอดธงทำเป็นรูปดาวมีหลายแฉก ทำด้วยทองเหลือง ดุนเป็นตราแผ่นดินอยู่ภายในวงจักร ปี พ.ศ 2453 ในวันที่ 3 มีนาคม เป็นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้น สำหรับธงชาตินั้นคงให้เป็นธงช้างอยู่ตามเดิม แต่สำหรับธงที่ใช้สำหรับราชการทหารเรือนั้น ที่กลางธงคงรักษาช้างทรงเครื่องไว้เหมือนเก่า เปลี่ยนที่รูปจักร ที่อยู่มุมธงนั้น เพิ่มเป็นรูปสมอจักร คือเป็นรูปสมอเรือจอดอยู่ในวงจักร

อนึ่งในระหว่างนั้นยังมีธงอื่นๆเป็นต้น ว่าธงประจําพระองค์พระมหากษัตริย์และอื่นๆอีกมากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงเฉพาะธงชาติ ซึ่งหมายความถึงความอิสรภาพประชาชาติไทยทุกคนย่อมมีสิทธิจะยึดถือเป็นผู้มีส่วนใช้ร่วมด้วยเท่านั้น อย่างไรก็ดี ชาวไทยได้ใช้ธงช้างดังกล่าวนี้มาจนจวบรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นบรมกษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี แห่งราชวงศ์จักรีมีวัฒนา แห่งราชวงศ์จักรีมีวิวัฒนาการเกี่ยว แห่งราชวงศ์จักรีมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับธง ชาติไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยทรงมีพระราชดำริในอันที่จะปรับปรุงสภาพแห่งการใช้ธงชาติไทยให้สมกับกาลสมัย สะดวกและงดงามเข้ากับนานาประเทศได้ครั้งนั้นทรงช้างเดิมของไทยจึงได้เปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ 3 สี 3 สีเช่น สีเช่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แต่ สีเช่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แต่ก็ทำ สีเช่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แต่ก็ท่านทั้งหลายอาจ จะยังไม่ทราบว่าที่มาแห่งการอันน้อมนำพระไทยให้ทรงพระราชดำริเชียงใหม่นี้เนื่องจากเหตุใดและมีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องเปลี่ยนจากของเดิม นอกจากนั้นจะได้ประโยชน์อะไรดีไปกว่าเก่าหรือบางคนอาจจะเลยคิดไปว่าจะเป็นการกระทำที่ดูไม่มีความสำคัญหรือร้ายกว่านั้นอาจคิดไปว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงกระทำการนั้นเพื่ออื่นใดอันหนึ่งเกี่ยวกับพระองค์เพื่อเพิ่มพูนพระบารมีหรือโดยปราศจากสาระสำคัญก็ได้ ผิดต่างๆกับเพื่อนได้เผยแพร่ความเป็นจริงให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบการ พระราชเจตนา อันกอปร ด้วยคุณธรรมที่ทรงมีต่อประชาชาติและพระมหากรุณาทรงห่วงใยและเห็นอกเห็นใจประชาราษฎรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงพระปรีชาสามารถและทรงวางรากวัฒนธรรมไว้ให้แก่ประชาชนชาวไทยเป็นอเนกประการจึงจะ ขอนำเอาเหตุการณ์ภายในอันเกี่ยวกับกรณียกิจส่วนพระองค์คนภายนอกพระราชสำนักอาจไม่มีโอกาสรู้เห็น

เมื่อ พ. ศ. 2459 ตอน ต้นเดือนกันยายน ตั้งแต่ฤดูน้ำทางภาคเหนือมากเป็นประจำ ในเวลาเช่นนี้แม้ไม่มีพระราชภารกิจพิเศษจำเป็นเกี่ยวกับภาวะบ้านเมืองประการใดเกิดขึ้นแล้วเข้าบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชสำนักประภาสไปตามหัวเมืองชายน้ำต่างๆ อาทิพระนครศรีอยุธยา พระราชวังบางปะอิน เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครสวรรค์ และอื่นๆเสมอและโดยเฉพาะถ้าปีใดมิได้เสด็จไปก็มักจะเสด็จประทับเรือแพหลวงที่จอดไว้หน้าท่าวาสุกรี เรือสำราญพระราชอิริยาบถ โดยไม่ต้องเสด็จไปจากพระนครอยู่มิได้ขาด โดยเฉพาะในปี พ.ศ 2459 นั้น นั้นเป็น นั้นเป็นปีพิเศษที่มี ฝนตกทางหัวเมืองภาคเหนือมาก ทำให้ถ้าในฤดูแล้งระดับน้ำสูงกว่าปีที่แล้วถึงแม้ว่าน้ำจะยังไม่หลากหล่นลงมาถึงกรุงเทพ แต่ข่าวคราวจากหัวเมืองภาคเหนือก็เป็นที่ร่ำลือกันหนาหู คนว่าน้ำทำท่าจะท่วม ถ้าฝนยังไม่หยุดกระทำซ้ำเติมลงมาและน้ำทะเลหนุนขึ้นแล้วกรุงเทพฯก็จะหนีน้ำท่วมไม่พ้น
อนึ่งลักษณะวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดก็ยังเพียงแต่เป็นข่าวลือจึงทรงพระราชดำริให้จัดเสด็จแปรพระราชสำนักขึ้นไปโดยขบวนเรือกำลังแม่น้ำเจ้าพระยาสังเกตการณ์ว่าจะเป็นไปสักเพียงไหน หรือถ้าหากจะเกิดน้ำท่วมขึ้นจริงจะได้หาทางป้องกันช่วยเหลือเพื่อมิให้ร่างกระดอนต้องได้รับภัยธรรมชาติเท่าที่พอจะทำได้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

อันอาณาบริเวณลำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นชีวิตสำคัญของประเทศไทยเรานี้ ท่านได้ไปทางเรือหรือลองพิจารณาตามแผนที่ เต็มไปด้วยเมืองต่างๆทั้งน้อยใหญ่ ล้วงอาศัยเป็นเส้นทางคมนาคมสืบมาแต่โบราณกาล ทั้งเพื่อแตะความอุดมสมบูรณ์อันพึงจะตั้งเป็นเมืองเอก-โท-ตรี อยู่ได้ตามสภาพเพราะแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ขาดน้ำก็หาอาจจะยึดมั่นเป็นที่อาศัยตั้งหลักแหล่งได้ ในระหว่างจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดชัยนาทนี้ยังมีเมืองเอกเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ในลักษณะแปลก คลื่นลึกเข้าไปจากลำแม่น้ำเจ้าพระยา มีบริเวณค่อนไปทางเที่ยวภูเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือ มีลำแม่น้ำน้อยแยกไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่านพื้นแผ่นดินขึ้นค่อยถูกร้อนขึ้นทุกที จนในที่สุดก็ไปตามลมถึงเฉยๆ ลำน้ำนี้เรียกกันว่าลำน้ำสะแกกรังและมีลักษณะเป็นแม่น้ำก็แตกในยามฤดูฝน ที่นี่แหละเป็นที่ตั้งเมืองอุทัยธานี ซึ่งเป็นภูมิประเทศที่ค่อนข้างจะทุรกันดารปราศจากการคมนาคมใดๆนอกจากทางเกวียนที่ต้องบุกผ่านป่่าหรืออาศัยเรือขึ้นร่องติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาโดยลำน้ำสายนี้ ปากทางเข้าลำน้ำตั้งอยู่ตรงกับอำเภอมโนรมย์ ณ ปากแม่น้ำสะแกกรังนี้ ผ้าในฤดูแล้งจะมีแผ่นดินใหญ่ เป็นเขื่อนกั้นอยู่ที่ปากน้ำ ซึ่งราษฎรทำขึ้นไว้ เพื่อกันมิให้น้ำในลำน้ำสะแกกรังแห้ง เรือแพจะผ่านเข้าออกไป โดยการเข็นข้ามเขื่อนดินนี้ ต้นทำเป็นตัวทํานบกั้นน้ำไว้สำหรับประชาชนชาวเมืองได้อาศัยใช้อาบกิน เลี้ยงสัตว์พาหนะและเพาะปลูกพืชพันธุ์ นอกจากนั้นยังได้อาศัยเป็นทางสัญจรไปมาในยามปกติอีกด้วย ที่เป็นตอนแห้งแล้ง มิฉะนั้นฤดูน้ำลดลง แม่น้ำสะแกกรังก็จะแห้งขอด เป็นเหตุให้ลำบากและการคมนาคมและการประกอบกสิกรรมทั่วไปยิ่งกว่านั้นชาวอุทัยธานีมีอาชีพทำนา กันเป็นล่ำเป็นสัน สถิติที่ปรากฏ เมืองอุทัยธานีเป็นเมืองหนึ่งในประเทศกุข้าวสำคัญของไทยโอกาสให้น้ำมากก็จะช่วยให้การเดินทางไปถึงตัวเมืองสะดวกขึ้นดังนั้นจึงทรงพระราชดำริหากเป็นไปได้ ก็น่าจะเลยเสด็จพระราชดำเนินเหยียบเมืองไทยธานีเป็นการตรวจราชการคราวเดียวกันเสียด้วยทีเดียว แล้วหมายกำหนดการแปลพระราชสำนักประพาสทางน้ำ ชั่วคราวก็ถูกสั่งล่วงหน้าออกมาโดยลำดับ

ในการเสด็จประพาสลำน้ำครั้งนั้น กระทรวงทหารเรือซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมและจัดเรือกระบวนเสด็จก็ได้จัดเรือเป็นพิเศษกว่าทุกคราว โดยจัดเรือรบหลวงเสือคำรนสินธุ์ เป็นเรือนำขบวนเป็นครั้งแรก และเป็นครั้งเดียวที่มีเนื้อเหลืองขนาดใหญ่ ขึ้นไปถึงปากน้ำโพ แต่โดยที่เรือรบหลวงเสือคำรนสินธุ์เป็นเรือยาว จะมีฝีจักรสำหรับวิ่งในทะเล ถ้าปล่อยให้แน่นขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีลักษณะคดเคี้ยวอยู่เป็นอันมากเกรงว่าจะแล่นเลยตลิ่งทางการทหารเรือจึงได้จัดเอาเรือช้างน้ำท่วมให้ถ่วงท้ายไว้ เล่นชะลอแต่พอได้ระยะเป็นเดือนนำเสด็จ เรือช้างน้ำมันเป็นเรือขนาดหนัก ทั้งรูปร่างอุ้ยอ้าย เป็นเรือสำหรับลำเลียงน้ำจืด ไปส่ง ณ เกาะสีชัง และรุ่นปากน้ำเป็นงานประจำจึงเหมาะที่จะให้เป็นเรือถ่วงถัดมาเป็นเรือยนต์พระที่นั่ง “ประจำทวีป” มีเรือ”อนันตนาคราช” และ”เอนกชาติภุชงค์” เป็นเรือพระที่นั่งรอ แล้วจึงเรือขบวนตามเสด็จแยกเป็น 2 สาย สายลาก สายลากจูงโดยเรือกลไฟหลวง ของกรมอู่ทหารเรือเรียกกันว่า “เรือเบอร์” ในขบวนเสด็จเหล่านี้มีบรรดาข้าราชบริพารประจำพระราชสำนัก และพนักงานต่างๆ

วันที่ 2 กันยายน พ.ศ 2459 ขบวน ขบวนเรือเสด็จพ่อออกจากท่าวาสุกรี แจ้งขึ้นไปทางเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อขบวนเรือประดิษฐ์ซึ่งไปยังหน้าเมืองชัยนาทปรากฏว่าน้ำล้นเอ่อฟังมาก ซึ่งยืนยันว่าต้องมีระดับน้ำสูงกว่าเขื่อนปากแม่น้ำสะแกกรัง พอที่จะนำเรือยนต์พระที่นั่ง อ่านเข้าไปถึงตัวจังหวัดอุทัยธานีได้โดยสะดวก ทางฝ่ายบ้านเมือง ก็ได้รับคำสั่งล่วงหน้าให้จัดเตรียมการรับเสด็จไว้ถึงอำเภอมโนรมย์อันเป็นปากทาง เรือรบหลวงเสือคำรนสินธุ์ จับเรือช้างน้ำก็ชะลอฝีจักรลอยลำ ขายขบวนเสด็จอยู่ ณ ที่นี่ จนเมื่อเรือยนต์พระที่นั่งประจำทวีป อันเป็นลำทรง กับเรือขบวนพระประเทียบทั้งหมด รวมเข้าแม่น้ำสะแกกรังไปเรียบร้อยแล้ว เรือรบหลวงเสือคำรนสินธุ์ แล่นขึ้นไป ถึงตำบล จังหวัดนครสวรรค์ เลี้ยวกลับลำ เพราะที่นั่นมีอาณาเขตเป็นที่รวมสายน้ำกว้างพอสำหรับเรือ รบได้ แล้วจึงเเล่นกลับลงมาและคอยรอรับเสด็จอยู่ ณ อำเภอมโนรมย์

ประชาชนชาวจังหวัดอุทัยธานีผู้อยู่ห่างไกลพระนครหลวง แต่ก่อน ยัง ไม่มีโอกาสเฝ้าหรือแม้แต่จะได้เห็นส่วนพระมหากษัตริย์ของตน เมื่อทราบว่าทางราชการ ได้จัดเตรียมที่ประทับไว้รับเสด็จ และเกณฑ์นักโทษออกตกแต่งบริเวณสองข้างทางริมน้ำ ที่เรือพระที่นั่งจะผ่านอีกทั้งยังประกาศข่าวให้ประชาชนชาวเมืองทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จเยี่ยมเมืองอุทัยธานี และจะได้หยุดประทับแรมถึงสองราตรี อันจะเป็นโอกาสให้ได้ชมพระบารมีและถวายความเคารพใกล้ชิดสภาพปกติของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นเมืองห่างไกลความเจริญ ค่อนข้างจะเงียบเหงาอย่างชนบทบ้านนอก

สองข้างทางเสด็จทั้งทางน้ำทางบกตั้งแต่หน้าเมืองไปจนจดตลาด สะพรั่งไปด้วยธงทิว ผ้าเฟื่อง ซุ้มดอกไม้ และโต๊ะบูชา ที่จัดเตรียมไว้แล้วอย่างสวยงาม ประชาชนนับตั้งแต่ข้าราชการพ่อค้า คหบดี และร้านค้าต่างๆ ลงไปจนกระทั่งชาวบ้านใหญ่น้อยทั้งหลาย ต่างพากันตกแต่งประดับประดาเคหะสถานเพื่อแสดงความจงรักภักดี

แต่สมัยนั้น ประเทศไทยยังไม่มีธงพื้นแดงมีรูปช้างเผือก (สีขาว) อยู่กลางเป็นธงประจำชาติ โอกาสที่จะได้ใช้ธงประดับประดาสมัยนั้นไม่ได้เกณฑ์ชาวบ้านให้ทำกัน มีแต่งานของราชการหรือในพิธีใหญ่ๆเท่านั้น นานๆจึงจะมีการตกแต่งกันขึ้นแต่ละรั้ง บ้างก็เที่ยวไปหยิบขอยืมมาจากจังหวัดใหญ่ๆ ที่ใกล้เคียงพอจะไปมาได้ทันท่วงที เช่นที่จังหวัดนครสวรรค์หรือชัยนาทเป็นต้น

พอเวลาบ่ายของวันที่ 12 กันยายน พ.ศ 2459 เรือยนต์พระที่นั่งประจำทวีป นำโดยเรือยนต์ของจังหวัดอุทัยธานีพร้อมด้วยเรือพระที่นั่งรอง และเรือพระประเทียบทั้งหลาย แล่นเป็นขบวนลดหลั่นแต่ช้าๆสง่างามเป็นทิวแถว แล่นเข้าเทียบท่าหน้าเมืองอุทัยธานี ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายสดุดีต้อนรับอยู่กึกก้องของบรรดาข้าราชการและประชาชนชาวจังหวัดทั้งหลายที่มาคอยเฝ้าสองฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง ณ ริมแม่น้ำหน้าศาลากลางจังหวัดอันเป็นศูนย์กลางของตัวเมืองท่าเรือพระที่นั่งเข้าจอดเทียบท่าตัวพลับพลา ที่ประทับนั้นสร้างด้วยไม้ไผ่อันเป็นของพื้นเมือง ที่หาได้จากภูมิประเทศใกล้เคียง มุงหลังคาจากรูปลักษณะสี่เหลี่ยมทำนองศาลาแต่กลั้นห้องเรียบร้อยและสวยงามด้วยไม้ไผ่เขียวสด เป็นศิลปะของไทยแท้ที่ทำด้วยความฉลาดสามารถเป็นที่สะดุดตาอยากอวดฝีมือกันทีเดียวทั้งนี้ปรากฏว่าเป็นที่ศพพระราชหฤทัย และถึงกับรับสั่งชมเชยเป็นอันมาก ทรงประทับแรมอยู่ ณ พลับพลาไม้ไผ่หลังนั้นเป็นคืนแรกของการประพาสเมืองอุทัยธานี

วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันกำหนดเสด็จประพาสวัดเขาสะแกกรังบรรดาผู้ตามเสด็จเตรียมอยู่ ณ หน้าพลับพลาหลวงที่ประทับ

ในระหว่างทางที่เสด็จผ่าน ต้องหนีข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ได้เดินทางตามเสด็จโดยใกล้ชิด และทรงมีพระราชดำรัสสนทนาอยู่ด้วยเนืองๆ เป็นที่น่าสังเกตว่า การแต่งบ้านช่องมีการห้อยผ้าขาวผ้าแดงรับเสด็จกันไปทั่วทุกเเห่ง หาธงไม่ค่อยได้เลยน่าจะเป็นที่สะดุดพระราชหฤทัยอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นครั้งแรกเพราะพระองค์ย่อมทรงตระหนักอยู่ว่า ธงช้างเป็นภาพพิมพ์ที่ต้องสั่งมาจากต่างประเทศ เพราะทำในเมืองไทยเองไม่ได้ ทั้งราคาการซื้อขายนับว่าแพงยากที่ราษฎรผู้หาเช้ากินค่ำจะสามารถหาไว้ใช้ประดับประจำบ้านได้ เป็นของที่จำเป็นและควรจะแพร่หลาย เป็นสิ่งสำคัญของคนไทยทุกคนจะนิยมใช้ ก็กลายเป็นความยากลำบากไป ทำให้ทรงเห็นใจจนถึงกับทรงพระราชปรารภว่า “การห้อยผ้าขาวผ้าแดงออกจากท้ายกับว่าเมืองอุทัยธานีของเราเต็มไปด้วยประเพณีชาวจีนไปเสียแล้ว”

บริเวณตลาดอันยาวเหยียด ต้องมีสภาพเป็นห้องแถวไม้หลังคามุงจากบ้าง สังกะสีบ้าง ต่อข้างทางที่ขบวนเสด็จทาด้วยผืนผ้าสีขาวแดงที่ประดับตกแต่งจีบห้อยในลักษณะต่างๆจนลานตา 8 รอบบริเวณนั้นแออัดด้วยมวลราษฎร อย่างล้นหลาม

ในขณะนั้นเอง ขบวนเสด็จพระราชดำเนินก็ต้องชะงักหยุด เนื่องจากปรากฏว่ามีเสียงเอะอะผิดปกติเกิดขึ้นข้างหลังทำนองคล้ายกับมีการโต้เถียง ก่อนที่จะถามไถ่ถามกันรู้เรื่องว่าเกิดอะไรขึ้น ก็มีหญิงชรา ชนบทคนหนึ่ง วิ่งแหวกขบวนเสด็จเข้ามา ทางร้องอะไรสัตว์เลี้ยงแปลกที่ฟังไม่ได้ศัพท์มือก็กวัดไกวจังจะเรียกให้ผู้ตามเสด็จหยุดช่วยเหลือ แม่เฒ่าซึ่งมีอาการหอบแฮ่กแฮ่กจนถึงหน้าพระวิหารอันเป็นที่ประทับ แล้วด้วยใบหน้าอันแสดงความมีชัยสมปรารถนา หญิงชาวอุทัยธานีผู้นั้นได้ทรุดตัวลงกับพื้นหน้าที่นั่ง พนมมือขึ้นถวายเหนือเกล้าฯ กราบแล้วกราบอีก 3 ลานัยน์ตาอันเต็มไปด้วยน้ำตาแห่งความจงรักภักดีด้วยเสียงอันดังฉาดฉานว่า

“เจ้าประคู้น ไททันมีบุญวาสนายิ่งยิ่งขึ้นเถิดเจ้าประคุณ ดิฉันอยากจะเห็น จะมากราบเจ้าชีวิตนิดนึง เพราะนานทีปีหน ท่านจะได้มาถึงนี่แต่ก็มาไม่ได้เข้าไม่ถึง”

พลันแย้มพระสรวล และพระราชทานพระราชานุญาตให้หญิงชราได้เข้าเฝ้าโดยใกล้ชิดสมปรารถนา ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชนบททั้งหลายนั้นๆ บังเอิญที่ที่หยุดประทับให้ชาวเมืองเฝ้านั้นเป็นแถบละแวกบ้านราษฎร โดยเฉพาะตรงหน้าที่ประทับนั้นเป็นบ้านหลังคามุงจากเก่าๆขนาดเล็กหลังหนึ่ง ถึงกระนั้นเจ้าของบ้านก็อุตส่าห์ทำการรับเสด็จ อย่างไม่ยอมน้อยหน้าคนอื่นๆ โดยพยายามติดธงช้างขนาดเล็กๆไว้ผืนหนึ่ง ชะรอยจะเพิ่งได้มาอย่างกะทันหัน และคงจะภาคภูมิใจอยู่ที่สามารถหาได้ธงช้างแบบที่ถูกลักษณะมา จึงเอาขึ้นไปติดไว้บนยอดหน้าจั่วหลังคา เพื่อให้เห็นได้ถนัดโดยง่าย ส่วนตัวเองกับครอบครัวก็พากันมาคอยเฝ้ารับเสด็จด้วยสีหน้าเบิกบานอยู่หน้ากระท่อม พอขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาหยุดลงก็พากันลงถวายบังคมหมอบอยู่กับพื้น แต่เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรขึ้นไป เห็นธงช้างเล็กผืนนั้นก็มีพระอาการสะดุดตา ด้วยว่า จะเป็นด้วยความรีบร้อนจนหมดโอกาสพิจารณา หรือสะเพร่าไม่ทันสังเกต หรือโง่เขลาเบาปัญญาอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ธงชาติรูปช้างผืนนั้นปลิวสะบัดอยู่ในลักษณะช้างนอนหงาย เอาสี่เท้าชี้ฟ้าอยู่

บรรยากาศในขณะนั้นได้เกิดวิกฤตขึ้นชั่วครู่หนึ่ง ต่างก็บังเกิดความเงียบงัน ไม่มีใครกล้ามองไปที่ธงผืนนั้นอีกเป็นครั้งที่สอง นี่ถ้าหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยถ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยเมื่อร้อยปีก่อนแล้ว บรรดาท่านเจ้าบ้านผ่านเมืองข้าราชการผู้รับผิดชอบตลอดจนเจ้าของกระท่อมนี้ น่าจะต้องได้รับโทษทัณฑ์หลังลายไปตามกัน เพราะความผิดพลาดนี้แน่ และเวลานี้แม้ว่ากาลเวลาจะล่วงเข้าสู่อารยสมัยแล้ว ก็ยังเป็นเวลาที่พระมหากษัตริย์ทรงสมบูรณาญาสิทธิราชอยู่

แต่พระองค์กลับรับสั่งให้เคลื่อนขบวนเสด็จตรงไปสู่วัดเขาสะแกกรัง พระพักตร์ก็กลับมายิ้มแย้มและทอดพระเนตรภูมิประเทศอย่างสำราญ จนกระทั่งเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ พระองค์มิได้ทรงถือว่านั่นเป็นความผิดถึงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทรงถือว่าเป็นความบกพร่องเล็กน้อย ทรงเห็นใจพสกนิกรยิงที่ควรจะได้รับการแก้ไขใหม่คือการใช้ธงรูปช้างเป็นธงชาติไทยนั่นเอง

หลังจากเสด็จกลับจากเมืองอุทัยธานี ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2459 แล้วนั้นพระองค์ทรงครุ่นคิดถึงเรื่องหลักการที่จะแก้ไขการใช้ธงนี้ โดยถือเอาเศรษฐกิจของราษฎร เป็นข้อสำคัญกว่าสิ่งอื่น กับทั้งความสะดวก ความเหมาะสม และความหมายในรูปลักษณะ และสีของธงอันจำจะต้องให้มีอยู่อย่างพร้อมมูลแล้วต้องมีความสง่างาประกอบด้วย

ธงชาติที่ทรงทดลองใช้ชั่วคราว

ต่อมาไมนานก็ทรงพระราชดำริว่า ธงชาติควรจะใช้ผ้าชิ้นๆเพลาะกันได้อย่างง่ายๆคือ
1. ราษฎรจะได้ไม่ลำบากที่จะใช้ได้เอง ทั้งไม่ต้องสั่งซื้อผ้าพิมพ์เป็นรูปช้างสำเร็จมาจากต่างประเทศ
2. ควรใช้สีที่มีความหมายในทางสามัคคีและยึดมั่นต่อชาติและเห็นได้แต่ไกล
3. ให้เกิดความสวยงามเมื่อเวลาประดับตามที่ต่างๆ

ในตอนแรก โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองทำขึ้นเป็นห้าริ้วสองสี คือใช้สีแดงกับสีขาว สลับกันเป็นทางตามความยาว โดยวิธีนี้อาจหาผ้าแดงกับผ้าขาวเพลาะเข้าโดยง่ายและไม่ต้องกลัวติดผิดทางเหมือนอย่างธงช้าง อีกทั้งไม่ต้องจ่ายเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เพราะทำได้เองแล้ว
ครั้นแล้วทรงได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำไปติดเป็นการทดลองที่สนามเสือป่า แต่ปรากฎว่ายังไม่เป็นที่พอใจเพราะดูจืดชืดไปไม่เกิดความงดงามสมเป็นธงประจำชาติ

ในที่สุดก็ทรงรำลึกขึ้นได้ถึงสีประจำพระองค์อันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ คือสีน้ำเงินซึ่งโปรดมาก จึงทรงลองนำเอาสีน้ำเงินเข้ามาผสมโดยใช้สีน้ำเงินใส่ลงตรงช่องกลางถัดมาเป็นสีขาวทั้งบนและล่างถัดมาก็คือสีแดงอยู่ริมสองข้าง ดังสีธงชาติที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แล้วพระราชทานความหมายไว้ว่า สีแดง หมายถึง ชาติ ซึ่งคนไทยทุกคนต้องรักษาไว้ โดยแม้จะต้องสละเลือด สีขาว มายถึง ศาสนา ซึ่งบริสุทธิ์ดุจสีขาวแห่งธงนี้ ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ โดยถือเอาสีน้ำเงินเป็นสีราชการ หลังจากนั้นจึงประกาศใช้เป็นธงประจำชาติ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2460 และได้พระราชทานชื่อว่า “ธงไตรรงค์”

ธงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงเปลี่ยนธงชาติไทย โดย จมื่นอมรดรุณารักษ์ ( แจ่ม สุนทรเวช )

Skip to content
ข้ามไปยังทูลบาร์