ภูมิปัญญาการตีมีด (จ่าตุ่ม)

ภูมิปัญญาการตีมีด (จ่าตุ่ม)

ความเป็นมา

มีด คือ เครื่องมือชนิดแรกอันหนึ่งของมนุษย์ยุคแรก ก่อนที่จะพบเหล็ก และเหล็กกล้า คนโบราณพบว่าหินที่คนนำมาใช้สามารถตัดเนื้อสัตว์และอาหารอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะ หินเหล็กไฟหรือฟลิ้นท์ เมื่อกระเทาะจะได้ขอบสำหรับใช้ตัดเพื่อนำมาเป็นมีดตลอดจนทำเป็นขวานและหัวลูกธนู

มีดในยุคแรกๆ

เมื่อคนมีความสามารถสกัดทองแดงจากหินแร่ได้ มีดก็ทำมาจากบรอนซ์ ดังจะเห็นจากตัวอย่างของมีดยุคบรอนซ์ ซึ่งนำมาใช้เป็นอาวุธและเครื่องมืออื่นๆ นั่นแสดงว่ามีความรู้ในการออกแบบและรู้ถึงคุณค่า ความเหมาะสมในการใช้ จะเห็นได้ว่าเครื่องมือในยุคต้นไม่ได้มีรูปร่างแตกต่างไปจากมีดสมัยใหม่มากนัก

มาถึงยุคเหล็ก การทำมีดมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย มีวิธีการผลิตที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ขั้นตอนที่เอาเหล็กมาทำเป็นมีดก็ยังเหมือนเดิม มีดในสมัยก่อนจะเป็นมีดขนาดใหญ่ เช่น มีดโบวี่ ซึ่งใช้สำหรับล่าสัตว์ แล่เนื้อสัตว์ เสี้ยมไม้ ถ้าเป็นงานอื่นอาจใช้ขวาน

มีดที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีขนาดเล็กพอสมควร เป็นแบบชิ้นเดียวและแบบพับได้ ชนิดหลังนี้ส่วนใหญ่ใบมีดจะพับเข้าไปในด้าม มีสปริง เพื่อปิดและเปิด ซึ่งเรียกว่า “มีดพก”

สำหรับมีดจ่าตุ่ม ถือว่า เป็นมีดที่มีค่า เพราะมีหนึ่งเดียวในโลก หมายความว่าที่จ่าตุ่มทำมีให้ต้องเอามีที่ตัวเองถนัดไปวัดทำด้ามและคำนวณน้ำหนักมือ แล้วมือมนุษย์ที่ไหนจะเท่ากัน พร้อมทั้งการออกแบบการทำมีดของแต่ละด้าม จะไม่เหมือนกันซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์ของการนำไปใช้

ชีวประวัติและการทำงาน

ไพโรจน์ ทิมแท้ คือชื่อจริงนามสกุลจริงของเขา ตุ่มเป็นชื่อเล่น บ้านเกิดอยู่ที่ จ.เพชรบุรี ตุ่มเป็นลูกชายคนที่ 6 จากพี่น้อง 8 คน มีชายอยู่เพียง 2 คน คือคนที่ 6 และคนสุดท้อง นอกนั้นเป็นหญิงหมด มีพ่อเป็นนายทหาร มีบ้านอยู่ติดกับค่ายทหาร ร.21 กองพันล่าง ชาวเพชรเรียกกันว่า บ้านหน้ากรม พ่อเป็นคนที่ชอบสะสมมีดมาก เด็กชายตุ่มลืมตาดูโลกก็เห็นมีดห้อยเต็มฝาบ้านแล้ว แต่ตุ่มกลับชอบปืนพกของพ่อมากกว่า แต่ยามเมื่อพ่อฝนมีดมักจะเรียกตุ่มเป็นคนตักน้ำให้และเป็นผู้นำมีดไปเก็บ ลักษณะของมีดชนิดต่างๆ จึงซึมซับไว้ในความรู้สึกไปโดยปริยาย พอโตขึ้นก็เลยเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยพ่อฝนมีดมาโดยตลอด

ทำไมต้องเรียกเขาว่าจ่าตุ่ม

แน่นอนยศจ่านี้ได้จากการเป็นนักรบของกรมตำรวจที่เขาเรียกว่า น.ป.พ. หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และที่ไปเป็นตำรวจนั้นก็มิได้ด้วยความตั้งใจหรือเป็นที่ประสงค์ของทางบ้าน ซึ่งอยากจะให้เป็นทหารตามพ่อมากกว่า เพราะพี่ๆ น้องๆ ส่วนมากเป็นครู เป็นพยาบาล 1 คน เป็นตำรวจ 1 คน คือ นายไพโรจน์ ทิมแท้

เขาเป็นตำรวจโดยไม่ได้ตั้งใจ คือ พอจบ ม.ศ.3 ในปัจจุบัน ที่โรงเรียนศึกษาปัญญา ที่มีแม่และพี่สาวเป็นครูอยู่ที่นี่ มีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ พโยม หลักแหล่ง เป็นผู้ชวนให้ไปเป็นเพื่อนสมัครสอบที่โรงเรียนพลตำรวจ จังหวัดนครปฐม เมื่อไปถึงเพื่อนก็ชวนสมัครด้วยกัน ไหนๆ มาถึงที่แล้วก็สมัครไปกับเขาด้วย เสียค่าสมัคร 45 บาท (ปี พ.ศ.2511) ผลสอบได้ทั้งคู่ ก็เกิดปัญหาเพราะ พโยม เตรียมตัวมาเรียบร้อยผู้ปกครองมารับรองตามกติกา แต่พลไพโรจน์ไม่มีผู้ปกครองมาด้วยเพราะหนีมาไม่รู้จะแจ้งทางบ้านอย่างไร ต้องร้อนถึงพลพโยมที่ต้องวิ่งหาคนเซ็นรับรอง ก็ได้ ร.ต.อ. วรรณรัตน์ คชรัตน์ เป็นผู้เซ็นรับรองสมบูรณ์แบบ ฝึกได้ 6 เดือน ก็ถูกส่งมาอยู่ที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เงินเดือน 450 บาท เป็นรุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นรุ่นที่คะแนนสู้รุ่นน้องอื่นไม่ได้ 40 คน แยกย้ายไปตามตำบล อยู่ได้ 1 ปีเศษ ก็ไปฝึกที่เชียงใหม่ในนามหน่วยปฏิบัติการพิเศษสมรภูมิแรกปี 2512 ที่ทุ่งสมอและเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงนั้นเป็นพื้นที่สีชมพู อยู่ได้ 6 เดือนครึ่ง ก็กลับฐานที่ อ.บ้านไร่ อยู่ได้ 6 เดือน ก็ถูกส่งไปคุมการสร้างทางที่อำเภอแม่สอด – อุ้มผาง สมรภูมินี้เองที่มีการปะทะยิงกันเช้าจนเย็น ยิงกันถึง 4 ปี สร้างทางได้แค่ 1 ก.ม. 7 เมตร รุ่น 11 หายไป 6 คน พลตุ่มได้กลับฐานที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี และได้บุกเบิกบริเวณเขากิ่ง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ให้เป็นหน่วยใหม่ของรุ่น 11

อยู่ได้ประมาณ 1 ปี ก็ถูกส่งไปปราบโจรหน้าแล้งที่มีชุกชุมที่จังหวัดสุโขทัย โจรปราบเรียบภายใน 4 เดือนก็กลับฐานพักอยู่ 2 เดือน ในปี 2517 ก็ถูกส่งลงไปใต้ จ.ยะลา คือ น.ป.พ. หน่วยแรกที่ได้ไปภารกิจคือคุ้มกันโรงเรยนที่ อ.ลือเสาะ อ.รามันเขายูโดนี่เดินขึ้นเดินลงอยู่ 6 – 7 เดือน ก็กลับฐานที่เขากิ่ว อ.เมือง จ.อุทัยธานี พร้อมยศสิบโท พักได้ 4 เดือนก็ไปทุ่งช้างอีก 6 เดือน ก็กลับฐานที่บ้านไร่

ฐานที่บ้านไร่นี้เหมือนกลับมาถิ่นเก่าบนเขาขาแข้งแดงเทือกไปทั้งเขา เพราะเป็น น.ป.พ. หน่วยแรกอีกเหมือนกันที่ขึ้นตระเวนบนเขานี้ สมรภูมินี้เองที่มีการปะทะกันอย่างรุนแรงยิ่งกว่าที่อุ้มผาง จนมีการใช้กำลังทหารเข้าสนับสนุน รุ่น 11 หายไปอีก 1 สิบโทตุ่มได้ยศจ่าตั้งแต่สมรภูมิทุ่งช้างขึ้นลงเขาขาแข้ง จนถึงปี 2532 ยามว่างรบจ่าตุ่มเริ่มตีมีดบ้าง แล้วชีวิตนักรับแห่งกรมตำรวจเริ่มผันแปรเมื่อถูกสั่งให้ลงมาประจำสถานีภูธรบ้านห้วยคต

ชีวิตในโรงพักทำให้จ่าตุ่มทำอะไรไม่ถูกปรับตัวได้ยากเวลาว่างมีมากขึ้น ในช่วงนี้ก็เริ่มศึกษาตำรับตำรามีดและตีมีดไปด้วยในวัยเด็กเขาชอบปืนของพ่อ และก็ได้ใช้ปืนอย่างแท้จริง จึงหันมาหามีดอีกเหมือนถูกลิขิต จนถึงปี 2535 จ่าตุ่มตัดสินใจลาออกจากตำรวจ

ผลงาน

ศิลปินมีด ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับของนักสะสมมีดเดินป่าและมีดอีกหลายๆ ชนิด ผลงานในแต่ละชิ้นใช้แรงงานทำมากกว่าเครื่องจักร เน้นความสวยงาม คมทน และปราณีต งานมีดศิลปะ ของเขาราคากว่า 4,000 บาทขึ้นไป หากรักแล้วต้องนอนรอขอเวลาทำเป็นเดือน มีดของเขาไม่มีทางที่จะซ้ำใคร ไม่มีทางจริงๆ เพราะผู้ที่ให้จ่าตุ่มทำมีดต้องเอามือที่ตัวเองถนัดไปวัดทำด้ามและคำนวณน้ำหนักมือ แล้วมนุษย์ที่ไหนจะเท่ากัน มีดของจ่าตุ่มมิได้หลอมหรือตีขึ้นเพื่อล้างแค้นหรือกอบกู้ยุทธจักรแต่อย่างใด มีดของจ่าตุ่มกลับใช้ตะไบ กระดาษทราย ใช้สว่านเจาะตัดแต่ง ขึ้นรูปและขัดจนมันวาว คมกริบ แผ่รังสีอันเย็นยะเยือกจับขั้วหัวใจน่าถนุถนอมน่าเก็บรักษายิ่ง มันเป็นมีดเย็นเพราะเหล็กของเขามิได้ผ่านการเผา การตี ภาษาช่างจึงเรียกการทำมีดนี้ว่า การทำมีดเย็น เขาทุ่มเทเวลากับการศึกษาสรีระของมีดอย่างจริงจัง แต่เหล็กพื้นบ้านที่ใช้ตีวางขายในปัจจุบัน

จนกระทั่งได้มารู้จักกับนักเล่นมีด สะสมมีดระดับโลกคนหนึ่ง ได้ช่วยแนะนำและสั่งเหล็กจากอเมริกามาให้จ่าตุ่ม เหล็ก D2 ยาว 6 นิ้ว ใบกว้าง 1 นิ้ว คือเหล็กชิ้นแรกที่ฝากซื้อ ตั้งใจจะทำมีดพับไว้ใช้เอง เหล็ก D2 ชิ้นนี้เองที่จ่าตุ่มได้ลองผิดลองถูก ทั้งเผา ทั้งตี แต่ไม่สามารถทำอะไรเหล็กชิ้นนี้ได้ จึงได้หันมาปรึกษาผู้รู้คนหนึ่งว่า ควรจะทำอย่างไรจึงได้รู้ว่าเหล็กชนิดนี้จะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะตัวเท่านั้น วิธีการเผา ตี หมดสิทธิ์ จึงได้ฝากซื้อตะไบ ดอกสว่าน กระดาษทรายยี่ห้อนิโคลสัน ถึงได้ปราบเหล็กยาวนิ้ว D2 นี้ได้ แต่ก็ต้องปล้ำกันอยู่เกือบสามอาทิตย์ ก็ได้มีดพับยาว 4 นิ้ว ทำไมไม่ยาว 6 นิ้วที่หายไป 2 นิ้ว ต้องนำไปใช้ทำสปริงเจ้ามีดพับ 4 นิ้ว

จ่าตุ่มต้องทึ่งในความเหนียวและคม ยามเมื่อเขาได้นำรถบรรทุกเสาไฟขึ้นเขาชัน รถเจ้ากรรมเกิดติดอยู่บนเชิงเขาก็ได้มีดพับเล็กๆ ยาว 4 นิ้วนี่แหละคอยถากถางหญ้าที่สูงระดับอก และกอไผ่ริมทางรถ ตั้งแต่บ่าย 2 ถึง 6 โมงเย็น ก็กู้รถบรรทุกได้สำเร็จ เหล็กอะไร มีดอะไรถึงทำงานได้หนังถึงเพียงนี้ ไม่ธรรมดาเสียแล้วเจ้าเหล็ก D2 ไม้ชิงชันที่ใช้ทำด้ามไม่คู่ควรกับเหล็กชนิดนี้แน่ จ่าตุ่มคิดยังงั้น ครั้งที่สองจึงติดต่อสั่งเหล็กอีกยาว 2 เมตร หนา 5 มิล สองเส้นในราคาหนึ่งหมื่นบาท ใช้ทำมีดเดินป่าหรือมีดต่อสู้ชิ้นแรกยาว 7 นิ้ว ใบกว้าง 1 นิ้ว ทำมีดเดินป่าอย่างเดียว ไม่ได้ขายเป็นเรื่องราวใดๆ 20 ชิ้น ก็แบ่งใช้กันในหมู่เพื่อนฝูง จ่าตุ่มเลือกใช้เขากวางทำด้าม เป็นเขากวางที่ได้เก็บสะสมไว้ครั้งปู่ย่าตายายถึงเหมาะสม กับเหล็ก D2 นักอนุรักษ์สัตว์อย่าพึ่งตาวาว จ่าตุ่มมิได้ฆ่าแล้วเอามาขาย ตามธรรมชาติของกวาง 1 ปีก็สลัดเขาทิ้งแล้ว เขาอ่อนหมดสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นไม้ประดู่ ชิงชัน ไม้แดง ล้วนไม่มีคุณสมบัติ และไม่เคยมีปรากฏในตำราใดๆ ของโลกในการทำด้ามมีด ต่อมาผู้ให้หนังสือตำหรับตำราจากต่างประเทศให้จ่าตุ่มไว้ศึกษาเป็นจำนวนมาก และก็ได้สั่งเหล็กครั้งที่ 3 อีกเป็นจำนวนหลายแสนบาท เป็นเหล็ก D2 กับเหล็ก 420 แจ 2 ผสมมาบ้าง ชนิดหนังนี้เป็นเหล็กที่ทนสนิมได้ดีที่สุดใช้งานหนักได้คงทนยาวทาน หัวใจของจ่าตุ่มเริ่มผสมผสานเข้ากับโมเลกุลของเนื้อเหล็กผนึกกับ วัน เวลาและลมหายใจของเขาคือมีด เหมือนรู้ใจเขาเริ่มทำมีดทุกชนิดเมื่อได้เหล็กมา คือ

1. มีดสวยงาม
2. มีดต่อสู้
3. มีดเดินป่า
4. มีดแล่เนื้อ
5. มีดทำครัว

ตั้งแต่ 2535 – 3539 จ่าตุ่มมิเคยหยุดนิ่งที่จะทำยอดมีด พัฒนาค้นคว้ามาโดยตลอดและก็ก้าวเข้าสู่จุดสุดยอดของการทำมีดจากงาน Custom (คลาสตอรม์) คืองานทำมือเหมือนกัน สู่งาน Artistic (อาร์ตติส) ซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการทำมีด มีการเอา Turpuise (เทอร์คอลย์) และเขี้ยว Wolrus (วอรัส) มาทำด้าม หรือเปลือกหอยและทองคำมาเสริมลายด้ามมีด หนีจากงาน DNFC และงาน CUSTOM โดยสิ้นเชิง แม้กระทั่งเหล็กก็มีการนำเอาเหล็กจากฝรั่งเศสคือ เหล็กดามัสกัส ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีลายในตัว แต่เหล็กประเภทนี้จะเป็นงานร้อนคือใช้ไฟเผาและตี นับเป็นการประยุกต์งานที่กลมกลืน เน้นศิลปะมากกว่าการใช้งาน

จ่าตุ่มยังให้ความเห็นในเรื่องศิลปะของมีดของสยามประเทศว่ายังหาไม่เจอมีดไทยๆ จึงไม่รู้ว่าแบบไหนส่วนมากจะนำแบบมาจากต่างประเทศ โดยได้รับอิทธิพล จากจีน ส่วนเรื่องเหล็กน้ำพี้ก็ได้ฟังเขาเล่ามาเป็นตำนาน เคยมีคนใช้เหล็กชนิดนี้มาลองทำดู ปรากฏว่าเนื้อเหล็กมีรอยร้าวตลอดใบ เป็นเหล็กที่กรอบ จ่าตุ่มให้ความเห็นที่น่าคิดอีกว่าทำไมพระยาพิชัยจึงดาบหัก หากในตำนานบอกว่าเป็นเหล็กพี้ก็แสดงว่าเหล็กนี้กรอบไม่เหนียวและทำมีดร้อน (งานร้อน) ใช้เผาและตีนั้นทำให้โมเลกุลในเนื้อเหล็กแตกกระจายความคมจะมีระยะสั้น สู้การทำมีดเย็น (งานเย็น) ไม่ได้ที่โมเลกุลของเหล็กยังคงอยู่ เนื้อเหล็กจึงเหนียว รักษาความคมได้ยาวนาน ส่วนด้ามนั้นเป็นที่วัดยศและฐานะของผู้ได้รับ ในยุคก่อนใช้เขาทำด้ามนี้ต้องเป็นระดับขุนศึก ส่วนการใช้งานั้นจะเป็นระดับสูงถึงขั้นแม่ทัพ จะแตกต่างกันอีกทีก็ดูที่จะมีอะไรมาประดับตัวด้ามและฝักมีดบ่งบอกฐานะกันก็ที่มีดนี่แหละ ส่วนราคาของงากับเขาจะใช้กิโลเป็นหลัก งานั้นกิโลก็ตกอยู่ 8 พัน ถึงหมื่นบาท เขากวางกิโลละ 680 บาท เขาวัวเขาควายราคาก็ต่ำลงมาอีก โทลคอลย์ คู่ละ 6,000 บาท จากอเจติน่าของแท้จะมีแร่ทองคำผสมอยู่ ขนาด 6×2 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ไม้มะนาว หินอ่อน เปลือกหอย วัสดุนี้สั่งจากต่างประเทศทั้งนั้น หากท่านใดที่นิยมงานมีดหรือชอบเก็บสะสม หากสะสั่งที่จ่าตุ่มก็ต้องเอามือของท่านไปวัดเสียก่อน และกรุณาทำใจให้เย็นยิ่ง เพราะของจ่าตุ่มต้องใช้เวลายิ่ง แล้วผนึกใจของท่านให้อยู่ในมีด ท่านก็จะได้มีดที่มีวิญญาณและเป็นวิญญาณแห่งความสวยงาม ใสสะอาด การทำมีดเย็นต้องใช้เวลาและความอดทน แต่เมื่อชิ้นงานแล้วก็คุ้มค้าทั้งผู้ทำและผู้ใช้

มีดส่วนใหญ่ปลอดสนิมเพราะทำจาเหล็กเพลาเรือเดินทะเล เหล็กดามัสกัส ที่มีลวดลายในตัวเน้นศิลปะมากกว่าการใช้งาน ตัวด้ามมีดประดับด้วยเปลือกหอย เขาวัว โทคอลย์ งาช้างน้ำ และไม้เนื้อแข็งจากต่างประเทศ

สารพัดชนิดของเหล็ก สารพันกรรมวิธีในการเผา – หล่อหลอม ช่างมีดแห่งเขาสะแกกรังผู้นี้รู้จักมันมากที่ใครจะคาดคิด ไม่นับความประณีตในการชุบ – ปัดเงา และแต่งองค์ทรงด้าม นั่นคืองานศิลป์ที่งดงาม ปราศจาก

Skip to content
ข้ามไปยังทูลบาร์