Skip to content
วัดธรรมโศภิต
เป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อว่า “วัดราษฎร์จำนงโค่ง”ตามนามผู้สร้างคนแรกชาวพม่า ชื่อ หม่อง เปียง โค่ง สันนิษฐานว่าสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆว่า “วัดโค่ง”ตั้งอยู่เลขที่ 774 ถนนศรี อุทัย อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีด้านหน้าของวัดติดกับแม่น้ำสะแกกรัง ในปี พ.ศ.2482 ได้เปลี่ยนชื่อวัดให้ เป็นมงคลนาม พร้อมกับ วัดอมฤตวารี(วัดหนองน้ำคัน) “วัดโค่ง” จึงได้นามใหม่ว่า “วัดธรรมโศภิต” วัดนี้ มีวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ พระเครื่อง “วัดโค่ง”
นอกจากวัตถุมงคลอันมีชื่อแล้ว ยังมีโบราณสถานที่น่าชมอีกหลายสิ่ง เช่น ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ วิหาร พระโศภิตพุทธพิมพ์พรรณี เป็นต้น
ศาลาการเปรียญ
เป็นศาลาไม้ทรงไทยชั้นเดียวใต้ถุนสูงกว้างประมาณ 14 วา ยาว 16 วา ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตัวศาลาสร้างด้วยไม้สักเป็นส่วนใหญ่หน้าบันแกะสลักลวดลายลึก เป็นนภาพพระพุทธองค์ปางลีไลยก์ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นตอนปฐมเทศนา เชิงชายโดยรอบเป็นไม้ฉลุลายหลังคามุงกระเบื้องลดหลั่นเป็นสองชั้นบนศาลา มีภาพเขียนพุทธประวัติบนแผ่นไม้ติดไว้บนฝ้าเพดาน โดยรอบเสาแต่ละต้นแข็งแรงดูแล้วสวยงาม น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก
หอสวดมนต์
เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง หลังคาทรงจั่วมีมุขด้านหน้าหน้าบันทั้ง 3 ด้าน แกะสลักลวดลายลึกรูปพระอิศวรทรงช้างเอราวัณเดิมลงรักปิดทอง แต่ปัจจุบันซ่อมแซมทาสีใหม่ปั้นลม เชิงชายใช้ไม้แกะสลัก ฉลุลายสวยงามประกอบ โดยรอบหอชั้นบนมีฝาโดยรอบชั้นล่างเปิดโล่ง ในอดีตชั้นบนใช้เป็นที่ทำสารวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น ชั้นล่างใช้สำหรับเรียนปริยัติธรรมวัดนี้นับว่าเป็นวัดที่มีโบราณสถานและโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งควรได้การอนุรักษ์ให้เป็นสถานที่คงความมีค่าทางพุทธศาสนาต่อไป
Skip to content